1.ฟองน้ำ


 

ฟองน้ำ ฟองน้ำเป็นสัตว์ทะเลประเภทหนึ่งมีเซลล์จัดเรียงตัวกันอย่างหลวมๆสองชั้น รูปร่างมีความต่างกันมากบางชนิดแผ่คลุมไปบนพื้นหินและซอกปะการังบางชนิดเป็นรูปเจกันคล้ายครก ขนาดของฟองน้ำมีความแตกต่างกัน  บางชนิดเล็กประมาณ  1  เซนติเมตร  จนถึงขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร  อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีพื้นสภาพต่างกัน ลำตัวของฟองน้ำนั้นมีรูฟุนขนาดเล็กจำนวนมาก  เป็นช่องให้น้ำไหลเข้าไปในโพรงลำตัวและบุไว้ด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่กินอาหารโดยใช้แส่จับ   ฟองน้ำมีลักษณะอ่อนนุ่ม  ยืดหยุ่นได้  ภายในลำตัวมีโครงค้ำจุนให้คงรูปร่างอยู่ได้

2.ขนนกทะเล

 

ขนนกทะเลจัดอยู่ในกลุ่มซีเลนเตอเรทพวกไฮโตรซัวอาศัยอยู่รวมเป็นโคโลนีที่แตกกิ่งก้านคล้ายกิ่งไม้เล็กๆหรือ
แตกแขนงคล้ายขนนกตัวขนนกทะเลแต่ละตัวเป็นโพลิปขนาดเล็ก โพลิปจะกินอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กหรืออินทรียวัตถุที่ล่องลอยอยู่ในทะเล ขนาดของขนนกมีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่โคโลนีที่คล้ายกิ่งไม้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาศัยเกาะอยู่ตามปะการังต่างๆ ขนนกทะเลเป็นสัตว์มีพิษหากสัมผัสกับผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดรอยไหม้เป็นผื่นคัน เนื่องจากเข็มพิษจากโพลิปของขนนกทะเลมีน้ำพิษอยู่ด้วย


3.ปะการังไฟ

ปะการังไฟ ปะการังไฟเป็นไฮโครซัวชนิดหนึ่งพวกเดียวกับขนนกทะเลและสร้างฐานรองรับเป็นหินปูนแข็ง
และสร้างฐานรองรับโพลิปเป็นหินปูนแข็งตัวโพลิปปะการังไฟมีรูปร่างสองแบบแบบหนึ่งทำหน้าที่จับเหยื่อ
กินอาหารและมีหนวเรียกว่าแดดทิลโลซูออยด์ และอีกแบบที่ไม่มีหนวดมีหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสและ
สร้างเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว  โพลิปแบบนี้เรียกว่าแดดซิลโซลูออยด์  เมื่อเราไปสัมผัส
ปะการังไฟ  น้ำพิษจากเข็มพิษจึงทำให้เกิดอาการคันได้ รูปร่างของปะการังนั้นส่วนใหญ่จะคล้ายกับปะการังก้อน
ปะการังผักกาด หรือปะการังเขากวาง ปะการังไฟทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนี  กินแพลงตอนและ
อินทรียวัตถุในน้ำเป็นอาหาร   สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ

4.แมงกะพรุน

แมงกะพรุนโดยทั่วไปมีประมาณ 250 ชนิด แต่ละชนิดจะมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ตั้งแต่ 2-200 ซม. พวกที่มีขนาดเล็กมักจะมีสีสดและเข้ม เช่น สีชมพู ม่วง เขียว หรือใสไม่มีสี ส่วนพวกที่มี
ขนาดใหญ่มักจะมีสีฟ้า น้ำตาล หรือขาวขุ่น บางชนิดสามารถเรืองแสงได้ในที่มืด สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ตามบริเวณชายฝั่งทะเลและท้องทะเลจะพบมากในเขตอบอุ่นและเขตร้อน แมงกะพรุนส่วนใหญ่จะลอยอยู่ บริเวณผิวน้ำแต่มีบางชนิดที่พบในน้ำลึกถึง 200 เมตร ชนิดที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น แมงกะพรุนหนัง แมงกะพรุนหอม แมงกะพรุนลอดช่อง พบในประเทศไทย และเขตน้ำตื้นเขตร้อนทั่วไป ชนิดที่มมีพิษร้ายแรง เช่น แมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนสาหร่าย เป็นต้น

 

5.ดอกไม้ทะเล

 

ดอกไม้ทะเลจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก  มีหนวดจำนวนมากเรียงรายกันอยู่ด้านบน  ส่วนทางด้านล่างเป็น ฐานใช้ยึดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำ  ขนาดของดอกไม้ทะเลแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตั้งแต่ตัวเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่าครึ่งเมตร  อาหารของดอกไม้ทะเลได้แก่ ปลาหรือสัตว์ทะเลชนิดอื่นที่ว่ายเข้ามาในระยะที่ หนวดจับได้  ดอกไม้ทะเลจะปล่อยนีมาโตซีสออกมาทำให้เหยื่อสลบ  แล้วรวบเข้าปากที่อยู่ตรงกลาง  ดอกไม้ทะเล นั้นจะมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน  บางชนิดที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะมีความทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมได้ดีทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงความชื้น  ความเค็มและอุณหภูมิรวมทั้งความสามารถในการอยู่
บนบกได้เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงขณะที่น้ำทะเลลดลงด้วย  เราจึงมักพบดอกไม้ทะเลเกาะอยู่ตามก้อนหิน
ริมชายฝั่งโดยหดตัวเป็นก้อนกลม  เพื่อรอให้น้ำทะเลท่วมบริเวณที่อาศัยอยู่อีกครั้งหนึ่ง

6.กัลปังหา

 

กัลปังหาเป็นสัตว์ทะเลพวกเดียวกับปะการัง  ทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีแตโพลิปมีหนวดแปดเส้นรอบปาก
 หนวดแต่ละเส้นมีแขนงแตกออกคล้ายใบปรงหรือเฟิร์น กัลปังหากินแปลงตอนเป็นอาหาร โดยใช้หนวดรวบ
ใส่ปากตรงกลาง การย่อยเกิดในกระเพาะที่มีลักษณะเป็นถุง หลังจากย่อยแล้งกากอาหารจะถูกคายออกทางปาก
 กัลปังหานั้นจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำเท่านั้นเพราะต้องการยึดเกาะกับพื้นแข็งแต่จะ
ไม่สามารถงอกอยู่ที่พื้นทรายหรือโคนได้ และการที่กัลปังหามีการแตกกิ่งก้านออกไป สัตว์หลายชนิดจึงมักมา
อาศัยพึงพาอยู่กับกัลปังหา เช่นปลาสลิดหินขนาดเล็ก ใช้เป็นที่หลบกำบังศัตรู หอยสองกาบใช้กัลปังหาเป็นที่
ยึดเกาะ ดาวตาข่าย ดาวขนนก กุ้งขนาดเล็ก ใช้กัลปังหาเป็นที่เกาะสำหรับคอยดักจับอาหารที่ลอยมากับน้ำ

 

7. ปากกาทะเล

 

ปากกาทะเล มีลักษณะใกล้เคียงกับปะการังอ่อน ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเช่นเดียวกับกัลปังหา
และปะการังอ่อน ด้านล่างเป็นด้ามใช้สำหรับฝังลงในพื้นทะเล ที่เป็นดินโคลน หรือโคลนปนทราย ส่วนบนที่อยู่ขอ
งโพลิบรูปร่างเป็นทรงกระบอก สามารถ ยืดหดตัวจากเนื้อเยื่อของโคโลนีเพื่อจับเหยื่อ แต่ละโคโลนีมีโพลิปหรือตัว
ทะเลนับร้อยตัว ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลโดยเฉพาะบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลผ่าน เพราะโพลิปจะได้รับ
แพลงตอนที่พัดพากับกระแสน้ำและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ปากกาทะเลมีคุณสมบัติพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ 
ความสามารถในการเรืองแสงได้ในที่มืด การเรืองแสงอาจเกิดเป็นบางส่วนหรือเกิดพร้อมกันทั้งโคโลนีก็ได้ 
ด้วยเหตุนี้ท้องทะเลบาง พื้นที่ที่มีปากกาทะเลอาศัยอยู่ จึงอาจมีแสงเรืองคล้ายไฟใต้น้ำส่องสว่างด้วย ปากกาทะเล
นั้นไม่สามารถนำมาบริโภคได้จึงถูกนำไปทำอาหารสัตว์ปะปนกับปลาเป็ด

8.หนอนดอกไม้

หนอนดอกไม้ เป็นหนอนปล้องที่มีลำตัวเป็นท่อนยาวแบ่งออกเป็นปล้องชัดเจนมีการ
สร้างหลอดด้วยตะกอนดินหรือ เศษวัสดุเล็กๆตามพื้นทะเลบางชนิดสกัดสารออกมาละลาย
หินปะการังแล้วฝังตัวอยู่ภายในช่อพู่ขนของหนอนดอกไม้ หลายชนิดมีสีสันสวยงามหลากสี
นอกจากพู่ขนแล้วหนอนดอกไม้บางชนิดมีงวงยื่นออกมาจากหลอดทำหน้าที่ปิดปาก หลอดขณะที่หดตัว
เอาพู่ขนหลบเข้าไปข้างใน การทำงานของงวงปิดหลอดนี้มีรูปแบบคล้ายกับหอยกาบเดี่ยวที่มีแผ่น ฝาปิดปาก
เมื่อหดตัวเข้าไปอยู่ภายในเปลือก หนอนดอกไม้เป็นสัตว์แยกเพศ การปฏิสนธิระหว่างเสปิร์มกับไข่เกิดภาย
นอกลำตัวโดยการผสมกันในน้ำทะเล

9.ลิ้นทะเล

 

 

ลิ่นทะเล ลิ่นทะเลเรียกอีกอย่างว่า “หอยแปดเกล็ด” จัดเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่มหรือมอลลัส
เช่นเดียวกับหอยและหมึกทั่วไป รูปร่างคล้ายกับทากดิน ไม่มีส่วนหัวและห่างที่ชัดเจนลำตัวเป็นรูปไข่
ด้านบนโค้งนู้น และมีเปลือกคล้ายเกล็ดจำนวน 8 แผ่น เรียงซ้อนกันจากด้านหน้าไปยังด้านท้ายคล้าย
กระเบื้องมุงหลังคายกเว้นบางชนิดเกล็ดอาจเรียงต่อกันเป็นแถวๆรอบๆเกล็ดเป็น แมนเทิลที่ปกคลุม
ด้วยหนามสั้นๆ ด้านล่างตรงกลางมีกล้ามเนื้อเท้ารูปไข่เป็นพื้นแบนเรียบช่วยในการเคลื่อนที่ ปากของลิ่น
ทะเลอยู่ด้านหน้า ภายในปากมีแผ่นลิ้นใช้ในการขูดสาหร่าย ไลเคนซ์กินอาหาร ที่อยู่ของลิ่นทะเลสามารถ
พบได้ตามโขดหิน ริมชายฝั่งทะเลและรอบเกาะ

10. ทากทะเล

 

ทากทะเล ทากทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยกาบเดียวมีรูปร่างลีสันที่แปลกตา
จึงได้รับสมญานามว่า ราชินีแห่งท้องทะเล ทากทะเลอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีฟองน้ำ
หรือสาหร่ายทะเลชุกชุม เพราะฟองน้ำเป็นอาหาร ที่ทากชอบกิน ทากชอบกินอาหารที่มีรส
และกลิ่นที่ไม่ค่อยเหมือนสัตว์อื่น ทากทะเลสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศบางชนิด มีทั้งเพศเดียวกัน
ในตัวเดียวกัน บางชนิดแยกเพศ

11. กลุ่มหอยสองฝา

ฝาหอยมีเปลือกสองชิ้นเชื่อมอยู่ติดกัน ฝาหอยนี้สามารถปิดหรือเปิดได้เนื่องจาก
มันมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง หอยสองฝานี้มักจะพบจมอยู่ในตะกอนของปะการังหรือ
ในรูในหินปะการัง หอยสองฝาทุกชนิดเป็นพวก filter feeders ส่วนของ siphons
จะยื่นออกไปบริเวณผิวหน้าได้ทุกทิศทางเพื่อดักจับอาหารจากมวลน้ำ หอยสองฝา
เช่น หอยมือเสือ (Giant clams) เป็นหอยที่มีขนาดโตที่สุดในโลกและ
ไม่สามารถเคลื่อนที่ออก จากแนวปะการังได้ มักจะพบบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น

 

12. ครัสเตเซียน

 

ครัสเตเซียน (Crustacean) ในแนวปะการังมีกลุ่มปูและกุ้งหลายชนิดอาศัยอยู่
ส่วนมากจะปรากฏตัวหาอาหาร ในเวลากลางคืน ในช่วงกลางวันมันจะหลบส่อนตัวอยู่
ตามรอยแยก เช่น ตามปะการังกิ่ง สาหร่าย และพื้นที่อาศัยอื่น ๆ ในขณะเดียวกันก็มีปูและกุ้ง
จำนวนมากอาศัยอยู่บนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น เช่น ปะการัง ฟองน้ำ และเม่นทะเล
กุ้งและปูเหล่านี้จะปรับตัวให้มีสีหรือรูปแบบคล้ายกับเจ้าบ้านที่มันอาศัยอยู่จึงทำให้พบเห็นตัวยาก
ปูที่พบอยู่ทั่วไปใน แนวปะการัง ที่มีมากและแพร่หลายที่สุดได้แก่ ปูปะการัง ซึ่งมีลักษณะเด่นตรง
ที่ปลายของขาเป็นสีดำหรือสีเข้ม ปูกระดุมหรือ anemone crab และ squat lobster
และปูอีกกลุ่มที่พบได้มากคือ ปูม้า ปูหนุมาน ปูกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นตรงที่ขาคู่สุดท้ายแบนเป็นใบพาย
เพื่อใช้ในการว่ายน้ำหรือฝังตัวกับพื้นทะเล

 

13. ดาวทะเล หรือปลาดาว

 

รูปร่างคล้ายดาว 5 แฉก มีแขนยื่นจากกลางลำตัวใต้ท้องแขนมีปุ่มดูดใช้ในการเคลื่อนที่ ปากอยู่ตรงกลางลำตัวด้านล่าง
กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากที่อาศัยอยู่บนพื้นตะกอนในแนวปะการังเป็นอาหาร

14. ดาวมงกุฎหนาม

ดาวมงกุฎหนาม (Crown-of Thorns starfish) พวกนี้กินปะการังเป็นอาหาร ดาวมงกุฎหนามสามารถ
ผลักกระเพาะอาหารของมันผ่านปากออกมาด้านนอก บริเวณใต้ลำตัวมัน แล้วย้ายกระเพาะของมันไปอยู่บน
ปะการังเป็น แล้วกระเพาะอาหารของปลาดาวมงกุฎหนามก็จะย่อยโพลิปปะการังเวลาที่มันยื่นตัวออกมา
เมื่อปลาดาวมงกุฎหนามกินอาหารเสร็จมันก็จะดึงกระเพาะอาหารกลับเข้าไปภายในร่างกายมันเช่นเดิม
การกินอาหารด้วยวิธีนี้จึงทำให้ปลาดาวมงกุฎหนามสามารถบริโภคเนื้อเยื่อปะการังมีชีวิตเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่
ได้อย่างรวดเร็ว

 

15. เม่นทะเล

เม่นทะเล เป็นสัตว์ที่ชอบแทะเล็มอาหาร ในเวลากลางคืนมันจะปรากฏตัวออกมาจากรูพื้นล่าง เม่นทะเลจะขุดรูด้วยตัวมันเอง มีสัตว์เพียงไม่กี่ชนิดที่กินเม่นทะเลเป็นอาหาร เช่น ปลาวัว ปลาชนิดนี้จะถอนหนามแหลมของเม่นทะเลออกอย่างระมัดระวังก่อนที่จะทุบเปลือกแข็งของเม่นทะเล

ตัวนับผู้เข้าชม