1.หญ้าทะเล

หญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญมาก ในปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเล
เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลและสัตว์น้ำ เศรษฐกิจ อันได้แก่ กุ้ง หอย ปู
และปลา หญ้าทะเลยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล เป็นแหล่งวางไข่ แหล่งอนุบาลตัวอ่อน
และที่อยู่อาศัยของปลา กุ้ง หมึก ปูม้า หอยชนิดต่างๆ ไส้เดือนทะเล ตลอดจนสัตว์เล็กๆ นานาชนิด และเป็นแหล่งอาหาร
แหล่งทำมาหากินที่สำคัญของชุมชนชายฝั่งทะเล

2. แพลงก์ตอนพืช 

 

แพลงก์ตอนพืช คือ สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้โดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นพลังงาน
หรืออาหารใช้ในการดำรงชีวิตพร้อมกับการผลิตแก๊สออกซิเจน กล่าวไว้ว่า แพลงก์ตอนพืชดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการสังเคราะ
ด้วยแสงเช่นเดียวกับพืชบนบกทั่วไปทำให้แพลงก์ตอนพืชถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตออกซิเจน ที่สำคัญที่สุดในโลกอีกทั้งแพลงก์ตอนพืช
ยังเป็นแหล่งอาหารขั้นต้นของสัตว์น้ำทั้งในระบบนิเวศทางทะเลและระบบนิเวศน้ำจืดอีกด้วย 

3.ไดอะตอม

 

ไดอะตอม เป็นผู้ผลิตขั้นต้นที่สำคัญในทะเล มีรูปร่างแตกต่างกันไปบางตัวมีรูปร่างเหมือนจานบาง
ตัวมีรูปยาวแหลมเหมือนเข็ม บางตัวเหมือนกล่องสามเหลี่ยมเกาะติดกันอยู่เป็นสายและบางตัว
เป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงติดกันเป็นแถวยาวไม่ว่าจะมีรูปทรงแบบใด ไดอะตอมจะมีลักษณะเหมือนกัน
อยู่คือมีฝาสองฝาประกบกันคล้ายกล่อง

4. สาหร่ายสีเขียว

สาหร่ายสีเขียว ในทะเลส่วนมากจะเป็นพวกเซลล์เดียว หรือมีลักษณะคล้ายเส้นด้าย (filamentous) ซึ่งมักจะเรียกว่าสาหร่าย turfing ซึ่งจะเจริญเติบโตบนพื้นผิวหน้าของปะการังและเศษซากปะการัง  สาหร่ายชนิดนี้จะเป็นอาหารของสัตว์ที่กินพืช หรือพวกสัตว์แทะเล็มหญ้าในแนวปะการัง

5.สาหร่ายสีน้ำตาล

สาหร่ายสีน้ำตาล ส่วนมากจะมีขนาดใหญ่และเป็นพืชที่มีลักษณะซับซ้อน พบได้ทั้งบริเวณโขดหินที่รับแรงปะทะคลื่น หรือบนซากปะการังในแนวปะการัง  เป็นผู้ผลิตขั้นต้นที่สำคัญในบริเวณชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น  สาหร่ายสีน้ำตาลนั้นสามารถพบในแนวปะการัง 

6. สาหร่ายสีแดง

สาหร่ายสีแดงที่พบมักมีสีชมพูหรือแดง  เคลือบตามพื้นหินหรือซากปะการัง พบมากในแนวปะการังน้ำตื้น โดยเฉพาะบริเวณที่ได้รับแรงปะทะจากคลื่น บางชนิดมีความสำคัญต่อการก่อตัวของแนวปะการังมาก เนื่องจากสาหร่ายสีแดงพวกนี้จะสะสมโครงร่างแข็งของแคลเซียมคาร์บอเนตเช่นเดียวกับปะการัง  สาหร่ายสีแดงพวกนี้จะเรียกว่า corallin

7. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินนั้นเป็นสาหร่ายที่มีความสำคัญต่อแนวปะการัง  สาหร่ายชนิดนี้จะเป็นพวกเซลล์เดียว มีขนาดเล็ก เป็นสาหร่ายตัวแรกที่เกาะบนปะการังที่พึ่งตายใหม่ ๆ  เป็นอาหารของสัตว์แทะเล็มพืช  นอกจากนี้ยังพบว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ร่วมกับฟองน้ำและปะการังหลายชนิดแบบพึ่งพาอาศัยกัน เช่นเดียวกับสาหร่าย zooxanthellae ซึ่งให้อาหารแก่ปะการังที่มันอาศัยอยู่

8. สาหร่ายใบมะกรูด

เป็นสาหร่ายสีเขียว เติบโตในพื้นที่อาศัยของแนวปะการังเป็นช่วงกว้าง  สาหร่ายชนิดนี้มีลักษณะเหมือนห่วงโซ่เล็ก ๆ รูปจาน เมื่อสัมผัสด้วยมือจะรู้สึกแข็งเพราะ Halimeda sp. สะสม calcium carbonate ภายในเนื้อเยื่อพืชสีเขียว  เมื่อเนื้อเยื่อพืชตาย Halimedasp. ซึ่งมีสีขาวก็จะโผล่ออกมา และล้มลงสู่ก้นล่างของแนวปะการัง ซึ่งจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของตะกอนในแนวปะการัง ในแนวปะการังบางแห่ง

9.Encrusting coralline

เป็นสาหร่ายสีแดงที่สะสม calcium carbonate เช่นกัน ซึ่งได้แก่สาหร่ายชนิด Porolithon sp. และ Hydrolithon sp.  สาหร่ายทั้งสองชนิดนี้จะเรียกว่า  encrusting coralline เนื่องจากรูปร่างของมันบางมาก มีชั้นสีชมพูครอบคลุมผิวของแนวปะการัง โดยเฉพาะบริเวณที่มีคลื่นแรงมาก  สาหร่ายสีแดงชนิดนี้จะพบบริเวณสันแนวปะการัง  หลังแนวปะการัง สาหร่ายชนิด coralline นั้นมีความแข็งแรงมาก มันจะปกป้องหินปูนด้านล่างที่ยังอ่อนอยู่โดยการต้านทานแรงคลื่น และพื้นที่รอบ ๆ แนวบริเวณเหล่านี้ สาหร่ายจะเชื่อมติดกับชิ้นของปะการัง ดังนั้นมันจะให้พื้นผิวที่แข็งแรงและคงทนที่ปะการังใหม่สามารถเติบโตได้

 

 

 

ตัวนับผู้เเข้าชม